อุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นอย่างไร ส่วนไหนคืออุ้งเชิงกราน ถ้าเป็นแล้วจะมีอาการอย่างไรต้องรักษายังไง บทความนี้มีคำตอบค่ะ สาวๆคนไหนที่กังวลในเรื่องนี้อยู่ห้ามพลาดเลยค่ะ
สารบัญ
อุ้งเชิงกราน คือตรงไหน
อุ้งเชิงกราน คือ พื้นที่ของร่างกายในส่วนท้องน้อย ถ้าเป็นในทางการแพทย์ จะเป็นอวัยวะต่างๆที่อยู่ภายในกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) ประกอบไปด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ระบบขับถ่ายลำไส้ใหญ่ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ และกล้ามเนื้อและเอ็นยึดต่างๆ
อวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน
มดลูกและรังไข่ อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานโดยการยึดด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเอ็นยึด ทำให้ช่องคลอดยืดเหยียดตามแนวนอน เมื่อเอ็นยึดไม่แข็งแรงทำให้เกิดการหย่อนของอุ้งเชิงกรานได้
กล้ามเนื้อที่สำคัญของอุ้งเชิงกราน
(หัวข้อนี้ถ้าลึกเกินไปข้ามได้ค่ะ)
อุ้งเชิงกรานจะรองรับด้วยกล้ามเนื้อของเชิงกราน (Pelvic floor) และกล้ามเนื้อฝีเย็บ
-กล้ามเนื้อชั้นตื้น Bulbocavernosus, Ischiocarvernosus, Superficial transverse perineal muscle (สามมัดนี้ประกอบกันเป็นสามเหลี่ยม อยู่บริเวณช่องคลอด และท่อปัสสาวะ)
-กล้ามเนื้อชั้นกลาง กล้ามเนื้อ Deep transverse peroneal membrane
–กล้ามเนื้อชั้นใน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหลัก ในการพยุงอุ้งเชิงกราน Levator ani, coccygeus muscle โดยเฉพาะ Levator ani เปรียบเสมือนสลิงที่รับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (ภาพมองจากบริเวณก้นขึ้นไป) กล้ามเนื้อที่คอยรับ Support อวัยวะในท้องน้อยอวัยวะภายในทั้งหมด
อุ้งเชิงกรานหย่อน คืออะไร
อุ้งเชิงกรานหย่อน คือ มดลูก ปากมดลูก หรือผนังช่องคลอดเคลื่อนต่ำลงไม่ว่าจะเป็นทิศทางใดก็ตาม ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ลำไส้ใหญ่เคลื่อนกดเบียดยอดของช่องคลอด (Rectocele) หรืออาจเกิดกับกระเพาะปัสสาวะหย่อนลงมากดเบียดช่องคลอดเป็น Cystocele เป็นต้น
สาเหตุอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดจากอะไร
อุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดจากกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอลง รวมถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ยึดมดลูก กระเพาะปัสสาวะ อ่อนแอลง บางครั้งอาจเกิดจากการฉีกขาด จากการคลอดบุตร การตั้งครรภ์ หรืออายุที่มากขึ้น
อุ้งเชิงกรานหย่อน อาการเป็นอย่างไร
บางรายในระยะเริ่มต้นอาจไม่พบอาการผิดปกติใดๆได้
อาการอื่นๆที่พบได้คือ
ปวดหน่วงท้องน้อย
ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลำบาก ต้องรอนาน ปัสสาวะค้างปัสสาวะไม่สุด กลั้นไม่ได้ หรือไอจามปัสสาวะเล็ด เจ็บเวลาปัสสาวะ เป็นต้น
มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก
มีปัญหาเวลามีเพศสัมพันธ์ เช่น ช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดหลวม
มีก้อนยื่นออกมาจากช่องคลอด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนคือ
1.อายุ
อายุที่มากขึ้นทำให้เกิดการหย่อนคล้อยได้ และรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหมดระดู
2.น้ำหนักตัวที่มากขึ้น
ทำให้อุ้งเชิงกรานต้องรับน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ BMI มากกว่า 25
3.การคลอดบุตรแบบคลอดธรรมชาติ
มีโอกาสทำให้เอ็นยึดหรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานฉีกขาดได้ โดยการคลอดบุตรแต่ละครั้งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุ้งเชิงกรานหย่อนได้ถึง 4 เท่า
4.มีประวัติคลอดยาก หรือเคยผ่าตัดเกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานมาก่อน
เพราะอาจทำให้เอ็นยึดถูกทำลายเสียหายได้
5.มีอาการผิดปกติที่เป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง
เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูก ยกของหนัก เป็นต้น การเพิ่มแรงดันในช่องท้องทำให้อุ้งเชิงกรานรับน้ำหนักมากขึ้น ทำให้เกิดความผิดปกติได้
6.โรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคอลลาเจน
ความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
ระดับ 0 ไม่มีปัญหาเรื่องการหย่อนของอุ้งเชิงกราน
ระดับ 1 ส่วนที่หย่อนที่สุดอยู่สูงกว่าระดับเยื่อ hymen หรือเยื่อพรมจารี มากกว่า 1 CM
ระดับ 2 ส่วนที่หย่อนที่สุด อยู่ระหว่างเยื่อ Hymen หรือน้อยกว่า 1 CM
ระดับ 3 มีอวัยวะบางส่วนยื่นออกมาภายนอกแต่ไม่เกิน 2 CM
ระดับ 4 มีก้อนยื่นออกมาภายนอกช่องคลอดเกินกว่า 2 CM
อุ้งเชิงกรานหย่อนกับช่องคลอดไม่กระชับเหมือนกันหรือไม่อย่างไร
อุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าปัญหาช่องคลอดไม่กระชับ เรื่องช่องคลอดไม่กระชับนั้น เป็นอาการหนึ่งที่พบได้ของคนไข้ที่เป็นอุ้งเชิงกรานหย่อน ดังนั้นอาจจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้างค่ะ ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้โดยแพทย์ด้วยการตรวจภายในคนไข้ค่ะ
อุ้งเชิงกรานหย่อน รักษา อย่างไรได้บ้าง
วิธีการรักษาอุ้งเชิงการหย่อนมีด้วยกันหลายวิธี แบ่งออกเป็น 2 วิธีหลักๆคือ
1.Conservative treatment การรักษาแบบอนุรักษ์
คือ ยืดระยะเวลาการผ่าตัดออกไปให้ได้นานที่สุด หรือไม่ต้องผ่าเลยนั่นเอง
- การปรับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับแรงดันในช่องท้อง เช่น งดยกของหนัก ป้องกันการท้องผูก ป้องกันการไอเรื้อรัง
- บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยการขมิบที่ถูกต้องและต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน
- ใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงภายในช่องคลอด
2.การผ่าตัด
ขึ้นอยู่กับว่ามีปัญหาอุ้งเชิงกรานหย่อนในทิศทางไหน และมีผลกระทบกับการขับถ่ายระบบใด คุณหมอก็จะเลือกการผ่าตัดให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การผ่าตัดรีแพร์ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องอุ้งเชิงกรานหย่อนได้
การรักษาอุ้งเชิงกรานหย่อนทางเลือกใหม่ (Empower)
การใช้เครื่องเลเซอร์เพื่อช่วยในการรักษา ยืดระยะเวลาในการผ่าตัดออกไป
ปัจจุบันมีการรักษาเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงในอุ้งเชิงกรานโดยไม่ต้องผ่าตัด กระชับช่องคลอดแบบเร่งด่วน ด้วยการใช้เครื่องเลเซอร์เข้ามาช่วยในหลายๆด้าน
ที่ Estique Clinic หมอเลือกใช้เครื่องเลเซอร์ Empower ซึ่งมีหัวเลเซอร์ที่หลากหลายและเสริมความแข็งแรงให้กับอุ้งเชิงกรานได้
V-Tone
Forma V : Lady’s secret
Morpheus 8V
Aviva
V-tone
หัวเลเซอร์เพื่อการกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ อุ้งเชิงกราน ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง คล้ายการบริหารด้วยการขมิบ แต่เป็นคลื่นเข้าไปกระตุ้นกล้ามเนื้อโดยที่เราไม่ต้องทำเอง กล้ามเนื้อจะกระตุกเป็นจังหวะ ไม่ค้องเสียเวลาหรืออาจจะขมิบได้ไม่ถูกต้องอีกด้วย เป็นคลื่นไฟฟ้ากระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เวลามีเพศสัมพันธ์จะช่วยให้ผู้หญิงรู้สึกมีความสุขมากขึ้นได้
Forma V(Lady’s secret)
คลื่นความถี่วิทยุสำหรับคนไข้ที่เป็นปัญหาช่องคลอดหลวม ช่องคลอดไม่กระชับในระยะแรก คลื่นความถี่วิทยุกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ช่องคลอดแข็งแรงขึ้น ลดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะได้ดีเพราะผนังช่องคลอดส่วนหน้าแข็งแรงขึ้นและอยู่ตรงกับท่อปัสสาวะพอดีนั่นเอง
Morpheus 8V
สำหรับคนไข้ที่ไม่สะดวกเดินทาง Morpheus 8V เป็นเครื่องกระชับช่องคลอดที่ใช้ Microneedle RF กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในช่องคลอดได้มากขึ้น ทำให้รู้สึกกระชับได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำและช่วยปรับสภาพปัญหาช่องคลอดแห้ง ไม่มีน้ำหล่อลื่น ทำให้พยาธิสภาพของช่องคลอดดีขึ้น บางครั้งคนไข้มีคำถามกลับมาหาหมอว่า มดลูกหย่อน มีเพศสัมพันได้ไหม ตัวนี้ก็ช่วยตอบโจทย์ข้อนี้ได้เป็นอย่างดี ลดปัญหาเรื่องความเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้ ทำให้มีความสุขระหว่างการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น
Aviva
หัวเลเซอร์ที่ใช้ในการตกแต่งรูปร่างของแคมใหญ่ รวมถึงบริเวณปากช่องคลอดให้กระชับ ผิวเต่งตึงได้ หัวนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องอุ้งเชิงกรานหย่อนโดยตรง เป็นส่วนเสริมที่ทำให้เรามีความมั่นใจกับน้องสาวของเราได้มากขึ้นค่ะ
สรุป
ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เกิดจากการที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันภายในอุ้งเชิงกรานหย่อนคล้อยลงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบต่างๆในอุ้งเชิงกราน เช่น ระบบสืบพันธุ์ ปวดท้องน้อย หรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ไปจนถึงอวัยวะข้างเคียง เช่น ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก มีปัสสาวะค้างจนเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ กลั้นปัสสาวะลำบาก ระบบขับถ่ายอุจจาระ มีปัญหาท้องผูกถ่ายไม่ออก ไปจนถึง มีก้อนยื่นออกมาจากช่องคลอด
ปัญหาอุ้งเชิงกรานหย่อน กับช่องคลอดไม่กระชับ เป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน ควรตรวจด้วยแพทย์ว่าอยู่ในกลุ่มไหน
การรักษาอุ้งเชิงกรานหย่อนมีได้หลายวิธี ทั้งการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การรักษาแบบไม่ผ่าตัดมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่น การใช้เครื่องเลซอร์ เพื่อช่วยให้อุ้งเชิงกรานแข็งแรง และทำให้ช่องคลอดกระชับได้ แถมยังช่วยเพิ่มความสุขให้กับเรื่องบนเตียง สำหรับสาวๆอีกด้วย ดังนั้นหากใครสงสัยว่า กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานหย่อนควรรีบรักษาแต่เนิ่นๆเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปผ่าตัดค่ะ
มีปัญหาอยากสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพของน้องสาว สามารถทักมาสอบถามได้ที่นี่เลยค่ะ