กล้ามเนื้อน่อง เป็นยังไง น่องใหญ่ น่องปูดเกิดจากอะไร

กล้ามเนื้อน่อง

น่องปูด น่องเรียว น่องใหญ่ ส่วนไหนที่น้าที่ทำให้น่องเรามันช่างดูแตกต่างกันขนาดนี้ ที่แน่ๆ น่องเรามี กล้ามเนื้อน่อง ด้วยกันถึง 13 มัดเลยค่ะ วันนี้หมอจะพามารู้จักน่องของเราให้มากขึ้นค่ะ

น่อง คือ ส่วนไหน

น่องคือส่วนของขาเราตั้งแต่บริเวณ ข้อพับเข่าลงมาถึงข้อเท้าของเราค่ะ ส่วนบริเวณที่อยู่เหนือเข่าขึ้นไปคือ ต้นขา และส่วนที่อยู่เลยจากข้อเท้าเราก็คือเท้านั่นเอง

น่อง คือ

ส่วนประกอบภายในน่องมีอะไรบ้าง

น่องเราประกอบไปด้วย ไขมัน กล้ามเนื้อ กระดูก โดยที่

ไขมันในน่อง

ไขมันจะหุ้มอยู่บริเวณด้านนอกจะมีบริเวณหน้าแข้งที่จะมีไขมันน้อยที่สุด

โดยส่วนใหญ่แล้วน่องเรานั้นมีไขมันหนาประมาณ 1 CM (ความหนาของไขมันโดยเฉลี่ยจากคนไข้ของหมอที่มาตรวจที่คลินิก) บางคนเข้าใจว่าน่องใหญ่จากไขมัน แต่จริงๆแล้ว ไขมันบางมากๆ สังเกตง่ายๆ ถ้าเขย่งแล้วเห็นน่องเราปูดเป็นลูกๆ แสดงว่าน่องเราใหญ่จากกล้ามเนื้อค่ะ

น่องใหญ่ เกิดจาก ส่วนไหน

จากภาพอัลตร้าซาวน์จะพบว่าชั้นไขมัน บางกว่าชั้นกล้ามเนื้อ แสดงว่าน่องของเราส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน

กล้ามเนื้อน่อง มีด้วยกันทั้งหมด 13 มัด

แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แบ่งตามพื้นที่ที่ กล้ามเนื้อน่องอยู่

กล้ามเนื้อน่อง

กล้ามเนื้อน่องกลุ่มด้านหน้า (Anterior compartment)

มีกล้ามเนื้ออยู่ 4 มัด คือ

Tibialis anterior

Extensor hallucis longus

Extensor digitorum longus

Fibularis tertius muscle

กล้ามเนื้อ บริเวณนี้ถูกเลี้ยงด้วยเส้นเลือด Anterior tibial artery และเส้นประสาท Deep peroneal nerve

กล้ามเนื้อกลุ่มนี้มีหน้าที่ กระดกปลายเท้าขึ้นและกระดกนิ้วเข้าขึ้น

กล้ามเนื้อน่อง

กล้ามเนื้อน่องกลุ่มด้านข้าง (Lateral compartment)

มีกล้ามเนื้อด้วยกัน 2 มัดคือ

Fibularis longus

Fibularis brevis

กล้ามเนื้อ บริเวณนี้ถูกเลี้ยงด้วยเส้นเลือด Anterior tibial artery กับ Fibular artery และเส้นประสาทที่มาเลี้ยงคือ Superficial fibular nerve กล้ามเนื้อน่องกลุ่มนี้ทำหน้าที่บิดข้อเท้า (เปิดนิ้วก้อยขึ้น)

กล้ามเนื้อน่องด้านหลัง

กล้ามเนื้อน่องกลุ่มด้านหลังส่วนลึก (Deep posterior compartment)

มีกล้ามเนื้อ 4 มัด

Flexor hallucis longus

Flexor digitorum longus

Tibialis posterior

Popliteus muscles

กล้ามเนื้อบริเวณนี้ได้รับเลือดมาจาก Posterior tibial artery และเส้นประสาทที่มาเลี้ยงคือเส้นประสาท Tibial nerve

กล้ามเนื้อกลุ่มนี้มีหน้าที่ในการกดนิ้วเท้าลงและกดปลายเท้าลง

กล้ามเนื้อน่องด้านหลังส่วนตื้น

กล้ามเนื้อน่องกลุ่มด้านหลังส่วนตื้น (Superficial posterior compartment)

มีกล้ามเนื้อด้วยกัน 3 มัด

Gastrocnemius (Lateral head, Medial head)

Soleus

Plantaris

กล้ามเนื้อบริเวณนี้ถูกเลี้ยงด้วยเส้นเลือดจาก Posterior tibial artery และเส้นประสาท Tibial nerve

กล้ามเนื้อกลุ่มนี้เป็นกล้ามเนื้อกลุ่มที่กินพื้นที่บริเวณน่องมากที่สุด กินพื้นที่เกือบ 50% ของน่อง ทำให้เรามาโฟกัสการลดน่องกันที่กล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ ขนาดความหนาของกล้ามเนื้อ Gastrocnemius จะอยู่ที่ 2 cm โดยประมาณ และ Soleus อยู่ที่ 2 cm เช่นกัน ซึ่งจะหนากว่าชั้นไขมันที่มีอยู่ประมาณ 1 cm อยู่ประมาณ 4 เท่าตัว จึงเป็นที่แน่ชัดว่าการจะลดน่องควรเน้นที่การลดกล้ามเนื้อมากกว่าการลดไขมัน

กระดูกในน่องมีด้วยกัน 2 ชิ้นคือ

1.Tibia bone

หรือกระดูกหน้าแข้งนั่นเอง เป็นกระดูกชิ้นใหญ่ที่สุดในน่อง บางคนที่เป็นน่องใหญ่จากกรรมพันธ์ก็อาจจะมีกระดูกชิ้นนี้ใหญ่ด้วยได้ สังเกตได้จากการที่ข้อเท้าของเรามีขนาดใหญ่ แสดงว่าเป็นคนที่โครงใหญ่กระดูกใหญ่ การสังเกตบริเวณข้อเท้านั้นเกิดจากการที่บริเวณนี้มีเนื้อเยื่ออย่างอื่นน้อยที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกระดูกเป็นหลัก

2.Fibular bone

กระดูกอีกชิ้นที่อยู่ด้านข้าง มีขนาดเล็กกว่ากระดูกหน้าแข้ง

กล้ามเนื้อน่องทั้ง 13 มัด กินพื้นที่ในน่องแค่ไหน

กล้ามเนื้อน่องทั้ง 13 มัดจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเดิน การวิ่งและการกระโดด โดยที่จะคอยควบคุมเท้าให้สอดคล้องกับจังหวะการเดิน เฉพาะแค่ Gastrocnemius และ Soleus รวมกันก็เกือบจะกินพื้นที่ไป 50% ของน่องแล้วค่ะ โดยรวมๆ แล้วกล้ามเนื้อในน่องนั้นมีสัดส่วนพื้นที่มากที่สุดในน่องเลยค่ะ ยิ่งตอกย้ำว่าลดน่องควรลดที่กล้ามเนื้อก่อนที่ไปลดไขมันนะคะ

ส่วนใหญ่แล้วคนไข้ที่สนใจการลดน่องจะกังวลว่าทำไปแล้วจะเดินได้ปกติหรือไม่ ซึ่งการลดน่องด้วยการจี้น่องนั้น

เราจี้ที่เส้นประสาทที่มาสั่งงานกล้ามเนื้อที่ชื่อว่า Gastrocnemius และกล้ามเนื้อ Soleus ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่ และมีหน้าที่ในการเขย่งปลายเท้า ซึ่งการจี้น่องเป็นการลดการทำงานของกล้ามเนื้อโดยที่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

โดยลดกล้ามเนื้อ Gastrocnemius 50% และลด Soleus 30% ยังคงมีกล้ามเนื้อเหลือใช้ในการเดินการวิ่งในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จะแตกต่างจากการผ่าตัดกล้ามเนื้อที่ตัดกล้ามเนื้อออกไปทั้งมัดทำให้ต้องทำกายภาพและปรับการเดินอยู่สักระยะใหญ่ๆ

ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับน่องที่คนไข้มักพูดถึง

1.น่องเป็นตะคริว น่องแข็งเป็นก้อน

ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าตะคริวเกิดจากอะไร แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับระดับเกลือแร่ในเลือดทำให้เกิดเป็นตะคริวได้ ถ้าเป็นตะคริวในน่องสามารถแก้ไขได้ด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อดังนี้

วิธีแก้ ตะคริว น่อง ท่ายืดกล้ามเนื้อน่อง

ท่าบริหารที่จะช่วยให้น่องหายตึงขึ้นคือ ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อน่อง ตามภาพทั้ง 2 ท่าจะช่วยยืดกล้ามเนื้อ Gastrocnemius และ Soleus ได้ตรงจุด

ท่าบริหารหลังจี้น่อง

ท่ายืดกล้ามเนื้อ Soleus

นอกเหนือจากการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การจี้น่องก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ช่วยลดการเกิดตะคริวในน่องได้เนื่องจากการจี้น่องเป็นการลดการทำงานของกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อทำงานน้อยลง การที่กล้ามเนื้อจะหดเกร็งเป็นตะคริวก็จะน้อยลงตามมา

2.น่องบวม

น่องบวมจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อในน่องทำงานได้ไม่ดี ทำให้ไม่สามารถปั๊มเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ บางครั้งอาจเกิดร่วมกับการเป็นเส้นเลือดขอดทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไหลไม่สะดวก ส่วนใหญ่มักเกิดช่วงเย็นๆ กรณีแบบนี้ แนะนำให้ออกกำลังกายน่องเพื่อให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น จะช่วยลดปัญหาเส้นเลือดขอดและน่องบวมได้

หากมีปัญหาน่องบวมแดงและปวดมาก ในกรณีนี้อาจเกิดความผิดปกติในหลอดเลือดดำใต้ผิวหนัง หรือ Deep vein thrombosis ได้ กรณีนี้เป็นอันตรายจำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับยารักษา

3. น่องแตกลาย

เมื่อเวลาที่น้ำหนักตัวมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้น่องขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย พบบ่อยในคนไข้ที่ตั้งครรภ์แล้วไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้ ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเยอะ บางช่วงมีขาบวม ทำให้ผิวหนังขยายขนาดอย่างรวดเร็วจน ผิวหนังในชั้นหนังแท้แยกออกจากกัน จนเกิดเป็นรอยแตกลายในที่สุด ตอนแรกหลังเกิดรอยแตกลายใหม่ๆมักจะเป็นสีแดง หลังจากนั้นจะเป็นสีขาว กรณีเช่นนี้สามารถลดรอยแตกลายได้ด้วยการฉีด PRP หรือการเลเซอร์รอยแตกลายได้

ตัวอย่างการรักษาน่องแตกลายด้วย Skin extraction เพื่อช่วยให้ชั้นหนังแท้แข็งแรงขึ้น

สรุป

น่องของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ 13 มัด น่องใหญ่ มักเกิดจากกล้ามเนื้อน่องมากกว่าที่จะเป็นน่องใหญ่จากไขมัน โดยกล้ามเนื้อน่องที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ในกลุ่มกล้ามเนื้อน่องด้านหลังส่วนตื้น หรือ Superficial posterior compartment

กล้ามเนื้อมัดที่ใหญ่ที่สุดคือกล้ามเนื้อ Soleus รองลงมาคือ กล้ามเนื้อ Gastrocnemius

กล้ามเนื้อทั้งสองมัดนี้กินพื้นที่เกือบครึ่งนึงของน่อง เราสามารถสังเกตกล้ามเนื้อน่องสองมัดนี้ได้จากการเขย่งปลายเท้า จะทำให้มองเห็นกล้ามเนื้อทั้งสองมัดนี้ได้ชัดขึ้น

ปัญหาอื่นๆเกี่ยวกับน่องที่คนไข้มาพบแพทย์นอกเหนือจากน่องใหญ่ คือ น่องเป็นตะคริว น่องบวม น่องแตกลาย แต่ละอย่างมีสาเหตุแตกต่างกันไป การจี้น่อง เป็นการช่วยลดขนาดกล้ามเนื้อน่อง และยังช่วยแก้ปัญหาน่องอย่างการเป็นตะคริวตอนกลางคืนได้อีกด้วย

มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องน่อง สามารถทักมาสอบถามกับหมอปีได้ที่นี่เลยค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า