น่องไม่เท่ากัน ทำยังไงดี รักษาได้มั้ย อ่านเลย

น่องไม่เท่ากัน

นอกจากปัญหาน่องใหญ่แล้ว บางครั้งเราก็ยังเจอว่าน่องไม่เท่ากันด้วย แต่ส่วนใหญ่ทุกคนไม่ทันได้สังเกตว่า น่องไม่เท่ากัน จ้า
ปัญหาเรื่องน่องไม่เท่ากันนั้นเจอได้เกือบ 30% ของคนไข้ที่มาหาหมอเลยค่ะ
อยากรู้มั้ยว่าเราต้องดูยังไงหรือ มีวิธีอะไรที่จะช่วยให้น่องเราเท่ากันเหมือนเดิมได้

สาเหตุของ “น่องไม่เท่ากัน”

น่องเราส่วนใหญ่แล้วเป็นกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อในน่องของเรานั้นกินพื้นที่ไปมากกว่า 50%

กล้ามเนื้อที่อยู่ในน่องนี้ทำหน้าที่ช่วยให้เราสามารถเดินวิ่งกระโดดเคลื่อนไหวร่างกายได้

ดังนั้นขนาดของน่องจะขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อเป็นหลัก

น่องไม่เท่ากันโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่เราใช้งานกล้ามเนื้อไม่เท่ากันนั่นเอง ซึ่งเจอถึง 30% ของคนไข้ที่มาที่คลินิกเลยค่ะและบางคนรู้ตัวบางคนก็ไม่รู้ตัวด้วยว่าน่องขาตัวเองไม่เท่ากัน

นอกจากการใช้งานแล้วความเจ็บป่วยของร่างกายเช่นการใส่เฝือกเป็นเวลานานทำให้กล้ามเนื้อน่องไม่ได้ใช้งานหรือเป็นโรคบางอย่างเช่นโปลิโอทำให้กล้ามเนื้อไม่สร้างหรือถูกทำลายไป

สาเหตุหลักๆที่ทำให้น่องไม่เท่ากัน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

น่องไม่เท่ากันจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน

น่องไม่เท่ากันจากความเจ็บป่วยของร่างกาย

น่องไม่เท่ากัน

น่องไม่เท่ากันจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน

คนเรามีแขน มือ ข้างที่ถนัด ขาก็เช่นเดียวกัน บางครั้งเราก็ยืนทิ้งน้ำหนักไปที่ขาข้างใดข้างนึงมากกว่า หรือ การเดินการวิ่ง เรามีการเดินลงน้ำหนักที่แตกต่างกัน การลงน้ำหนักที่แตกต่างกันนี้เองทำให้เกิดการสร้างกล้ามเนื้อในน่องที่ไม่เท่ากันได้

นอกจากนี้บางคนมีปัญหาจากหลัง มีปัญหาหลังคด อาจจะคดจากช่วงเอว หรือช่วงหลัง เพราะท่าทางการทำงานที่ไม่ดี  เจอเยอะมากในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมหรือแม้แต่หมอเองก็มีปัญหาเรื่องหลังคดค่ะ

ของหมอมาจากท่าทางในการผ่าตัดเป็นส่วนใหญ่เพราะต้องเอียงไปทางขวาเวลาผ่าตัดเสริมจมูกและต้องเอียงอยู่เป็นเวลานานและอาการหลังคดนี้เองที่ทำให้ขาไม่เท่ากันค่ะ

ยิ่งหลังคดมากก็ขาไม่เท่ากันมากขึ้นตามไปด้วยค่ะกรณีนี้ส่วนใหญ่แล้วให้ปรับท่าทางในการทำงานอาจใช้วิธีการจัดกระดูกมาช่วยด้วย หรือถ้าเป็นมาก อาจต้องผ่าตัดขึ้นกับ สาเหตุของหลังหดด้วยค่ะ แต่หลักๆแล้วการปรับท่าทางสำคัญที่สุดค่ะ 

สิ่งที่ทำเป็นประจำจะส่งผลไปถึงรูปร่างได้นะคะ เพราะการที่เราใช้งานขา 2 ข้างไม่เท่ากัน รับน้ำหนักแตกต่างกันจึงทำให้กล้ามเนื้อขาของเราแตกต่างกันได้ค่ะ แต่มักจะเห็นแตกต่างกันไม่มากเท่าไหร่ ทำให้บางคน ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตัวเองขาไม่เท่ากัน

น่องไม่เท่ากัน

เคสตัวอย่างที่น่องไม่เท่ากัน หลังจากที่ฉีดโบท็อกน่องมาก่อนหมอแก้ไขด้วยการใช้
Real legs จี้น่องให้น่องกลับมาใกล้เคียงกัน

วิธีรักษาน่องไม่เท่ากัน จากการใช้งานในชีวิตประจำวัน

ส่วนใหญ่ปัญหาน่องไม่เท่ากันจากการใช้งานในชีวิตประจำวันนี้เราเจอได้บ่อยมากค่ะ ความแตกต่างกันของขาทั้งสองข้างก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลักค่ะ

สามารถแก้ไขได้ง่ายอาจใช้เพียง 1 ถึง 2 เทคนิค เช่น การฉีดโบท็อกน่อง หรือ การจี้น่องปรับแต่งทรงรูปร่างกล้ามเนื้อใหม่ เช่นนี้น่องก็กลับมาใกล้เคียงกันได้แล้วค่ะ

การใช้เทคนิคทางการแพทย์เข้าช่วยอาจจะต้องให้คุณหมอช่วยในการประเมินว่าควรจะลดจุดไหนเป็นหลัก หรือเพิ่มน่องให้ใหญ่ขึ้นจุดไหนจะได้กลับมาใกล้เคียงกัน รวมเทคนิคลดน่องทั้งหมด

น่องไม่เท่ากันจากปัญหาความเจ็บป่วยของร่างกาย

ในกรณีที่มีความเจ็บป่วยของร่างกายทำให้น่องไม่เท่ากันนั้น เจอได้ประมาณ 10% ของคนไข้ที่มารักษาที่คลินิกค่ะ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคประจำตัวที่เป็นก่อนหน้านั้น เช่น เป็นโปลิโอทำให้ขาข้างนึงลีบกว่าอีกข้างนึง หรือเคยอุบัติเหตุ ที่ขา ทำให้กล้ามเนื้อหายไป หรือต้องใส่เฝือกเป็นเวลานานทำให้กล้ามเนื้อน่องไม่เท่ากัน

ต้องระวัง ในเคสที่น่องใหญ่ไม่เท่ากันและลักษณะของผิวที่น่องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ขาบวม กดบุ๋มหรือกดไม่บุ๋มก็ได้ ผิวที่น่องคล้ายผิวส้ม แสดงถึงความผิดปกติที่ระบบน้ำเหลืองได้ค่ะ หรือคลำได้ก้อนผิดปกติที่น่องในกรณีนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาเพิ่มเติมก่อนค่ะ

น่องบวม

น่องปวด บวมแดง ใหญ่กว่าอีกข้างอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดความผิดปกติในหลอดเลือดดำลึกในน่องหรือ DVT (Deep vein thrombosis)

การใส่เฝือกเป็นเวลานานๆทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้ใช้งาน หลังจากการแกะเฝือกออกจะพบว่าทำให้ขา 2 ข้างไม่เท่ากันได้ อาการจะค่อยๆดีขึ้นตามการใช้งานหลังจากที่แกะเฝือกออกแล้ว

เข้าเฝือกขา

สำหรับกลุ่มนี้ที่น่องแตกต่างกันไม่มาก สามารถใช้เพียงเทคนิคเดียว ในการแก้ไข เพื่อให้น่องกลับมาใกล้เคียงกัน แต่ถ้าน่องมีความแตกต่างกันมากอาจจำเป็นต้องใช้หลายเทคนิคร่วมกัน

วิธีรักษาน่องไม่เท่ากันจากปัญหาความเจ็บป่วยของร่างกาย

เคสที่มีปัญหาน่องไม่เท่ากันจากความเจ็บป่วยของร่างกายมักเป็นเคสที่แก้ไขได้ยากกว่าเคสทั่วไป น่องมักมีความแตกต่างกันมากเกินกว่า  3 CM ขึ้นไป

ซึ่งในกรณีนี้การแก้ไขจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น

ข้างที่เล็กกว่าอาจจะต้องพิจารณาเสริมน่องให้ดูใหญ่ขึ้น เน้นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อน่องข้างที่เล็กกว่าเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อน่องให้แข็งแรง หรืออาจจะต้องใช้การเสริมน่องด้วยซิลิโคน เติมไขมันที่น่อง เพื่อให้น่องโตขึ้นได้ 

อีกข้างนึงก็อาจจะต้องใช้การลดน่องเข้ามาช่วยเพื่อให้ขาดูใกล้เคียงกันมากขึ้น  จะช่วยให้น่องกลับมาใกล้เคียงกันได้เกือบถาวร เทคนิคในการลดน่องมีทั้ง การฉีด Botox น่อง การดูดไขมันน่อง การฉีดสลายไขมันน่อง ไปจนถึงการจี้น่อง แนะนำว่าให้ คุณหมอเป็นคนประเมินในกรณีเคสแบบนี้นะคะ เพราะว่าจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจใน Anatomy ของน่องจะได้แก้ไขกลับมาให้เป็นรูปแบบธรรมชาติ

น่องที่สวยนั้นส่วนใหญ่แล้วต้องมีกล้ามเนื้อนิดหน่อยรูปทรงคล้ายแก้วแชมเปญคือช่วงเข่าลงมากว้างเล็กน้อยแล้วคอดลงตรงช่วงใกล้ข้อเท้าค่ะ 

มีงานวิจัย จากประเทศไต้หวัน ศึกษาเพื่อหาขนาดน่องที่สวย โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับส่วนสูงของคนนั้น และความยาวของขา ของคนนั้น

โดยเราสามารถคำนวนขนาดน่องที่สวยของตัวเองจากส่วนสูงของเราได้ดังนี้ค่ะ

  1. คำนวนหาความยาวขา (วัดจากข้อพับเข่าถึง ส้นเท้า)
    ความยาวขาควรจะได้เท่ากับ 26% ของส่วนสูง
  2. นำความยาวขาที่สัมพันธ์กับส่วนสูงที่ควรจะเป็น มาคิดเป็นค่าเส้นรอบวงน่องที่ควรเป็นคือ 75% ของความยาวขา

Ideal leg length = 26%(Height)

Ideal leg circumference = 75%(Ideal leg length)

น่องสวย

Tip จากหมอปี

ลองมาคำนวน กันดูนะคะ ขอยกตัวอย่างเป็นน่องของหมอเองนะคะ หมอสูง 172 CM น่องขนาด 33 CM ความยาวขาของหมออยู่ที่ 45CM คำนวนตามงานวิจัยจะได้ตามนี้ค่ะ

Ideal leg length หรือความยาวขาที่ควรจะเป็นคือ 26%ของ 172 CM จะได้ออกมาที่ 44 CM ขาหมอยาวกว่าเล็กน้อย

Ideal leg circumference หรือเส้นรอบวงน่องควรจะเป็น 75% ของ 44 CM จะได้ออกมาที่ 33 CM  เท่ากันกับขาของหมอเลยค่ะ ลองย้อนกลับไปดูรูปด้านบนเลยนะคะ

ภาพนั้นเป็นขาหมอเองค่ะ ขาสวยอยู่ใช่มั้ยคะ 😀

วิธีการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อน่อง

ในหัวข้ออื่นๆเรามักพูดถึงว่าออกกำลังกายเพื่อลดน่อง วันนี้หมอจะมาบอกวิธีออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อน่องกันบ้างค่ะ

อันนี้สำหรับคนไข้ที่มีปัญหาน่องไม่เท่ากัน ขนาดต่างกันมากกว่า 3 CM ขึ้นไปนะคะ เพราะปัจจุบันการลดน่องยังไม่สามารถลดน่องได้มากถึงขนาดหลายๆนิ้วได้ในครั้งเดียวค่ะ จำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ข้างนึงอาจจะต้องเพิ่มขนาดขึ้น อีกข้างอาจจะต้องลดขนาดลง เพื่อให้แต่ละข้าง ใกล้เคียงกับ ขนาดน่องที่ควรจะเป็นอย่างที่หมอสอน คำนวนด้านบนค่ะ ลองเอาไปคำนวนกับน่อง ของตัวเองได้นะคะ จะได้รู้ว่าน่องของเราควรจะเพิ่ม หรือว่าลด ยังไงบ้าง

การออกกำลังกายที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อน่อง ให้คนไข้เน้น ทำในข้างที่น่องมีขนาดเล็กกว่าอีกข้างนะคะ ข้างที่ใหญ่แล้วไม่ต้องทำก็ได้ค่ะ เพราะในชีวิตประจำวันเราก็ใช้งานข้างนั้นมากกว่าอีกข้างอยู่แล้ว

ท่าออกกำลังกายสำหรับการเพิ่มกล้ามเนื้อน่องคือ เขย่งปลายเท้าขึ้นหรือ Calf raise

(จะบอกว่ามีหลายบทความบอกว่าท่านี้ช่วยลดน่อง เฮ้อ หมอปวดหัวเลยค่ะ)

ท่านี้ใช้งานกล้ามเนื้อน่องเป็นหลัก ทำให้กล้ามเนื้อน่องแข็งแรงขึ้นและทำให้ขนาดโตขึ้นไม่ทำให้เล็กลงนะคะ ถ้าใครยืนเขย่งข้างเดียวไม่ไหว อาจทำในท่านั่งก็ได้ค่ะ แนะนำทำวันละ 30 ครั้ง แบ่งเป็น 3 set ค่ะ แต่แบบนั่งจะเสริมกล้ามเนื้อได้น้อยกว่าและช้ากว่าแบบยืนนะคะ เพราะว่าการยืน จะทำให้น่องต้องทำงานมากขึ้น น่องเราก็จะโตขึ้นได้มากกว่าค่ะ

นอกจากการเขย่งปลายเท้าแล้วอาจทำการกระโดดเชือกด้วยขาข้างเดียวค่ะ ถ้ากล้ามเนื้อเริ่มแข็งแรงแล้ว การกระโดดก็จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อน่องได้เช่นเดียวกันค่ะ

การเดินขึ้นลงบันไดก็เป็นส่วนนึงที่ช่วยเสริมกล้ามเนื้อน่อง ได้เช่นเดียวกันค่ะ

กระโดดเชือก

การกระโดดเชือก เป็นท่าที่ใช้กล้ามเนื้อน่อง จะช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อน่องได้ถ้าเน้นข้างใดข้างนึง ใช้เป็นการกระโดดข้างเดียว ขาอีกข้างให้ยกลอยตลอดเวลา

เขย่งเท้า

การเขย่งปลายเท้า (Calf raise)จะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อน่อง ถ้าอยากเน้นให้ข้างใดข้างหนึ่งใหญ่กว่าอาจจะเพิ่มน้ำหนักถ่วงที่ข้อเท้าเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานมากขึ้น

สรุป

น่องเราส่วนใหญ่แล้วเป็นกล้ามเนื้อ ปัญหาน่องไม่เท่ากันเกิดจากการที่เราใช้งาน น่องไม่เท่ากัน หรือเกิดจากความเจ็บป่วยของร่างกาย ใส่เฝือกเป็นเวลานาน เป็นต้น

ถ้าน่องมีขนาดที่ต่างกันมากอาจจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อรักษาน่องไม่เท่ากัน เช่น เสริมน่องฝั่งที่น่องเล็ก โดยเลือกเป็นการเสริมซิลิโคนที่น่อง หรือ เติมไขมัน ไปจนถึงการออกกำลังกาย เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ เน้นบริหารกล้ามเนื้อน่องให้น่องใหญ่ขึ้น และลดน่องฝั่งน่องที่ใหญ่กว่า เพื่อช่วยให้น่องใกล้เคียงกัน อาจะเลือกเป็นการฉีดโบท็อกน่อง จี้น่องหรือผ่าตัดกล้ามเนื้อน่องก็ได้

กลับสู่บทความหลัก น่องใหญ่ทำไงดี

มีปัญหาน่องไม่เท่ากัน ส่งรูปมาประเมินและพูดคุยกับคุณหมอได้ที่นี่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า