ขมิบ คืออะไร ขมิบยังไงให้ได้ผล

ขมิบ

วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของการขมิบค่ะ ขมิบ มีประโยชน์มากกว่าแค่การทำให้ช่องคลอดกระชับนะคะ ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาอุ้งเชิงกรานหย่อน แก้การไอ จาม ปัสสาวะเล็ด และที่สำคัญเพิ่มความสุขของเรื่องบนเตียงให้กับหนุ่มๆสาวๆได้ด้วย ฟังแล้วตื่นเต้นเลยมั้ยคะ ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับหนุ่มๆการขมิบก็ช่วยทำให้ควบคุมการหลั่งได้ดีขึ้นด้วยนะคะ ใครหลั่งเร็ว ต้องรีบบริหารเลยค่ะ

ใครที่อยากรุ้ว่าปัญหาช่องคลอดไม่กระชับ ทำยังไงดี กลับไปอ่านบทความเก่าได้ที่นี่

ขมิบคืออะไร

ขมิบ คือ การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ที่รองรับอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด

ขมิบ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Kegel exercise หรือ Kegel manuever เป็นการเรียกเพื่อเป็นเกียรติแก่ คุณหมอ Arnold Henry Kegel แพทย์สูตินรีเวช ชาวอเมริกัน ผู้คิดค้นวิธีการบริหาร และการขมิบนั้นทำได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายค่ะ

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอยู่ตรงไหนบ้าง

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้สุดของร่างกาย คอยรองรับอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด สิ่งที่จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในบริเวณนี้อ่อนแอลงก็คือ

การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การผ่าตัด อายุที่มากขึ้น ท้องผูก ไอ เรื้อรังและ ปัญหาโรคอ้วนก็ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของเรามีความแข็งแรงน้อยลงได้ค่ะ

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เป็นกล้ามเนื้อที่รองรับอวัยวะภายในช่องท้องของเรา

ประโยชน์ของการขมิบ

ช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่รองรับอวัยวะทั้งหมดแข็งแรงขึ้น ลดปัญหา ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด ซึ่งแม้ปัญหาเกิดหลังคลอดก็ดีขึ้นได้หลังการบริหาร นอกจากนี้แล้วการขมิบยังทำให้ช่องคลอดกระชับขึ้น ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะมีความสุขในการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น โดยจะมีจุดสุดยอด หรือ Orgasm ที่แรงมากขึ้น 

เมื่อรู้ประโยชน์ของการขมิบแล้ว มาดูกันว่าขมิบที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร

ส่วนใหญ่แล้ว หลายๆคนยังขมิบไม่ถูกต้องค่ะ กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ส่วนหน้าจะช่วยในการกลั้นปัสสาวะ ส่วนหลังจะช่วยในการกลั้นอุจจาระ 

ที่บอกว่าทำผิดกันส่วนมากเพราะสาวๆมักจะใช้การแขม่วท้องแทนการขมิบ

มาเช็คกันค่ะว่าเราขมิบถูกหรือยัง

ให้เช็คในขณะที่เรากำลังปัสสาวะค่ะ อย่างที่หมอบอกว่า การขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเพื่อช่วยกระชับช่องคลอดต้องขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานส่วนหน้าค่ะ เวลาที่เรากำลังปัสสาวะอยู่ให้กลั้นปัสสาวะค่ะ ถ้าปัสสาวะหยุด แสดงว่าเราขมิบได้ถูกต้องค่ะ

ถ้าขมิบแล้วยังปัสสาวะได้อยู่แสดงว่า เราไปขมิบก้น หรือไปแขม่วหน้าท้อง ไม่ก็กล้ามเนื้อ ไม่มีแรงเลย ต้องกลับมาโฟกัสกล้ามเนื้อให้ถูกกันก่อนค่ะ 

ควรจะขมิบเมื่อไหร่

ถ้าทำได้แล้ว ให้จำวิธีการขมิบที่ถูกต้องมาบริหารกันค่ะ ทำเมื่อไหร่ก็ได้ที่เรานึกขึ้นได้ แต่ ไม่ต้องไปทำตอนปัสสาวะแล้วนะ เดี๋ยวจะกลายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแทนเพราะมัวแต่ไปกลั้นปัสสาวะอยู่ และส่วนใหญ่ที่จะพลาดกันคือ เวลาขมิบดันกลั้นหายใจ จริงๆแล้วให้เราหายใจ ตามปกติเลยนะคะ นั่นแหน่ะ กำลังกลั้นหายใจพร้อมกับขมิบไปด้วยอยู่ใช่มั้ย หายใจได้แล้วค่ะ

 ขมิบ วันละเท่าไหร่ถึงจะเห็นผล

การขมิบกล้ามเนื้อให้ถูกต้อง

การขมิบที่ถูก คือ  เวลาขมิบจะต้องขมิบค้างไว้ อย่างน้อย 10 วินาทีถึงจะนับเป็น 1 ครั้งค่ะ

ขมิบ วันละเท่าไหร่ดี

วันนึงก็อาจจะเริ่มขมิบที่ 30 ครั้งอย่างน้อย แบ่งเป็นเซตได้ค่ะ เซตละ 10 ครั้งหรืออะไรก็ว่าไป

ควรเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆจนถึง วันละ 100 ครั้งขึ้นไป บางตำราก็บอกว่า 200-500 ครั้ง แหม่ฟังแล้วท้อเหลือเกิน หมอแนะนำแบบนี้ดีกว่าค่ะ

สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอ

สิ่งที่สำคัญกว่าปริมาณคือ ความสม่ำเสมอค่ะ เน้นว่าทำบ่อยๆเท่าที่นึกได้ หรือถ้าใครจะวางแผนไว้เลยว่าจะทำเท่าไหร่ๆได้ยิ่งดีค่ะ  เหมือนการออกกำลังกายโดยทั่วไปค่ะ ถ้าเราแรงดีแต่ออกกำลังกายรอบเดียว กล้ามเนื้อก็ไม่แข็งแรงขึ้นค่ะ คนเราจะมี Six packs ได้ ก็ต้องมีวินัยออกกำลังกายเป็นประจำ การจะขมิบให้เกิดผลลัพธ์อย่างที่เราต้องการก็ย่อมต้องอาศัยความสม่ำเสมอเหมือนกันเลยค่ะ

ท่าบริหารอื่นๆที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

นอกจากการขมิบยังมีท่าบริหารที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้อีกด้วย ดังนี้ค่ะ


bridge

ท่า Bridge

เป็นท่าบริหารนึงที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ด้วยนอกเหนือจากการขมิบ หรือ Kegel เวลาทำแนะนำให้พยายามบีบเข่าอย่าให้กางออก ให้อยู่ในระดับเดียวกับช่วงสะโพก ขณะยกก้นขึ้นก็ขมิบก้นร่วมด้วยจะช่วยให้บริหารได้มากขึ้น

สามารถสายรัดหรือ ลูกบอลมาหนีบช่วงเข่า เพื่อบังคับให้เราไม่กางขาออกเวลายกก้นขึ้นจะทำให้บริหารกล้ามเนื้อได้ตรงจุดมากขึ้น ตามภาพตัวอย่าง


clamshell

ท่า Clam Shells

เป็นการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการนอนตะแคง งอเข่าเข้าหาตัว แล้วกางเข่าออก โดยที่ไม่บิดตัวไปด้านหลัง อาจจะนอนพิงกำแพงเพื่อกันไม่ให้สะโพกหมุน สามารถเพิ่มน้ำหนักโดยการใช้สายรัดช่วงเข่า ตามตัวอย่างในวิดีโอ


ท่า Squat ที่ใช้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานร่วมด้วย

การบริหารด้วยท่า Squat เป็นพื้นฐานการออกกำลังกายที่หลายคนอาจจะได้ยินมาบ้าง เราสามารถเพิ่มการบริหารอุ้งเชิงกรานเข้าไปด้วยขณะที่กำลังทำ Squat อยู่ด้วยการหายใจเข้าย่อตัวลง พอหายใจออก ยกตัวขึ้นพร้อมทำการขมิบร่วมด้วย

จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของเราคล้ายกับการถ่วงน้ำหนักเพิ่ม ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากกว่าการขมิบด้วยวิธีการนั่งเฉยๆ แต่เบื้องต้นแนะนำให้เช็คก่อนว่าเราขมิบได้ถูกต้องก่อนนะคะ ค่อยมาขั้น Advance กัน

ท่าบริหารที่ช่วยคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

นอกจากการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงแล้วด้วยการขมิบและ ท่าบริหาร มดลูกหย่อน ต่างๆ อีกสิ่งนึงที่ไม่อยากให้มองข้ามคือการ ยืดกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

เปรียบเทียบกับการออกกำลังกาย เรายังต้องมีการวอร์มก่อนออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังกายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เช่นเดียวกัน บริหารกล้ามเนื้อ ขมิบแล้ว ก็อย่าลืมคลายกล้ามเนื้อส่วนนี้ด้วยนะคะ จะเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้ครบวงจร ไม่ต้องเจอปัญหาบาดเจ็บหรือล้าจนเรา ไม่อยากบริหารอีก

วิธีการก็คือ

ท่า Diaphragmatic breathing

เรียกชื่อซะหรูหรา จริงๆคือการฝึกการหายใจให้ถูกต้อง ทำไมต้องหายใจให้ถูกต้อง เพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องสัมพันธ์กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน นึกถึงว่าท้องเราคือลูกบอลลูกหนึ่ง เมื่อเราบีบลูกบอลส่วนนึงอีกส่วนก็จะโป่งออก หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ

ดังนั้นเมื่อเราทำการหายใจเข้า ก็เหมือนเป็นการบีบลูกบอล โดยใช้กระบังลมเป็นตัวบีบ ส่วนอุ้งเชิงกรานเราก็ควรที่จะคลายตัวออก พร้อมกับหน้าท้องที่ป่องออกไปพร้อมกัน

พอหายใจเข้า กระบังลมยกตัวขึ้น หน้าท้องและอุ้งเชิงกรานก็ควรที่จะขมิบเข้า หรือหดตัวเข้าหากันนั่นเอง เป็นการฝึกสมาธิไปในตัวเลยนะคะ ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของเราได้คลายตัวตามปกติ ค่ะ


ท่า Happy baby pose

นอนราบงอเข่าเข้าหาตัว มือจับปลายเท้า กางขาออกจากกันหลังจากนั่นให้โยกตัวซ้ายขวาเล็กน้อย เพื่อจัดท่า หลังจากนั้นค่อยๆกดหลังลงกับพื้น  สังเกตจากวิดีโอตัวอย่าง จะช่วยคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้

เทคโนโลยีกับการขมิบ

อ่านบทความมาตั้งนาน ท่าบริหารมากมายหลายท่า นอกจากจะต้องให้แข็งแรงแล้วก็ยังต้องยืดกล้ามเนื้ออีก สงสัยมั้ยคะว่ามันมีตัวช่วยรึเปล่า มีแน่นอนค่ะ เพราะมนุษย์เราใช้เทคโนโลยีมาเพื่อให้เราสบายขึ้น เช่นเดียวกับเรื่องนี้ค่ะ

ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการใช้สนามแม่เหล็ก กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ เหมือนกับเราขมิบหลักเป็นหมื่นครั้งต่อการทำแต่ละรอบเลยค่ะแถมยังมีฟังก์ชั่นในการช่วยคลายกล้ามเนื้ออีกด้วย ฟังแล้วอย่าเพิ่งโกรธหมอที่มาบอกเอาตอนท้ายบทความเลยนะคะ จริงๆคืออยากให้คนไข้เข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานที่สำคัญก่อน แล้วคนไข้ก็สามารถเลือกเองได้ว่าจะใช้วิธีไหนในการรักษานั่นเองค่ะ

นอกจากเครื่องช่วยในการบริหารอุ้งเชิงกรานแล้ว หมอยังมีเครื่องเลเซอร์กระชับช่องคลอด Lady’s secret ด้วยนะคะสำหรับใครที่อยากให้ช่องคลอดกระชับโดยตรงเป็นทางลัดไม่ต้องมานั่งขมิบอยู่ แต่เอาเข้าจริงถ้าเราทำเสริมด้วยก็ช่วยให้ผลลัพธ์อยู่ได้นานขึ้น และดีขึ้นนะคะ

ใครที่ส่นใจทางลัดเกี่ยวกับ เครื่องช่วยขมิบ และเครื่องกระชับช่องคลอดก็สามารถสอบถามคลินิกได้โดยตรงทางนี้เลยค่ะ

สรุป 

การขมิบคือการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานมีหน้าที่ในการรับน้ำหนักอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด ส่วนใหญ่แล้ว กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะอ่อนแรงลงหรือถูกทำลายจากการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร เป็นต้น

การขมิบที่ถูกต้องคือ การกลั้นปัสสาวะ ถ้าจะเช็คว่าขมิบได้ถูกต้องมั้ยต้องเช็คจาก ขณะไปปัสสาวะอยู่ ถ้ากลั้นปัสสาวะได้แสดงว่าขมิบได้ถูกต้อง ให้จำวิธีการขมิบนั้นมาฝึกขมิบเองตอนที่ไม่ได้ปัสสาวะอยู่โดยให้ขมิบค้างไว้ 10 วินาทีนับเป็น 1 ครั้ง ให้ทำอย่างน้อยวันละ 100 ครั้ง หากทำสม่ำเสมอต่อเนื่องกันจะช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง หลังจากบริหารแล้วอย่าลืมที่จะคลายหรือยืดกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ และทำให้การบริหารอุ้งเชิงกรานหรือ การขมิบได้ผลดี

แต่ถ้าใครบอกว่าให้ออกกำลังกายไม่ทันใจ ปัจจุบันมีทางเลือกใหม่ ทั้งเก้าอี้ช่วยขมิบ และเครื่องกระชับช่องคลอดโดยตรง ช่วยเสริมและรักษาในกรณีที่คนไข้มีปัญหาช่องคลอดไม่กระชับแล้วนะคะ

สนใจสอบถามรายละเอียดข้อมูลต่างๆได้ที่นี่เลย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า